Skip to content

สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด

โคขุนโพนยางคำ สกลนคร เนื้อดี ราคาโดนใจ ที่คนไทยต้องลอง
สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด
ก่อตั้งเมื่อ 3 มิถุนายน 2523
สืบเนื่องจากการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคของเกษตรกรในเขตจังหวัดสกลนครและนครพนม ของ กรป.กลาง (ซึ่งปัจจุบันคือหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา)
อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากส่วนต่าง ดังนี้
1.ศูนย์ส่งเสริมการขยายพันธุ์สัตว์ กรป.กลาง ให้การสนับสนุนด้านการผสมเทียมโค บุคลากร และ น้ำเชื้อโคพ่อพันธุ์เนื้อจากต่างประเทศ
2. รัฐบาลฝรั่งเศส โดยสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยฝ่ายวัฒนธรรมและความร่วมมือ (นายฟรังซัว แดร์โฟซ์ ผู้ประสานงาน) ให้การสนับสนุนด้านวิชาการทุนการศึกษาอบรมแก่เจ้าหน้าที่ไทย ไปฝึกอบรมในประเทศฝรั่งเศส ด้านการผลิตเนื้อ การตัดเนื้อ การผสมเทียม ผลิตเมล็ดพืช
อาหารสัตว์ การบริหารระบบสหกรณ์  ฯลฯ ตลอดจนสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรและสหกรณ์มาปฏิบัติงานที่สหกรณ์และสนับสนุนทุนสร้างโรงฆ่าสัตว์พร้อม
อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งรถห้องเย็นใช้ขนส่งเนื้อ จากสหกรณ์ฯโพนยางคำ สกลนครไปยังศูนย์ตัดแต่งและจำหน่ายที่กรุงเทพ
3.รัฐบาลออสเตรเลียโดยAsian Food Handling Bureau ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ห้องเย็นบ่มซากห้องที่ 1 (ประสานงานโดย ดร.วิพิชญ์ ไชยศรีสงคราม)
4.รัฐบาลเยอรมัน ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ห้องเย็นบ่มซากห้องที่ 2 (ประสานงานโดยพลตรีชัยพฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์)
5.บริษัทเนสท์เล่(ประเทศไทย) จำกัด  ให้ทุนการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและปริมาณการผลิตน้ำนมของโคลูกผสมสายพันธุ์ซิมเมนตัล

ปัจจุบัน(เมษายน พ.ศ.2552) มีสมาชิก  4,702 ราย

นานกว่า  27 ปี ในการสร้างตราสินค้าในนาม เนื้อโคขุนโพนยางคำหรือ เนื้อไทยเฟรนซ์ Thai-French Beef ให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับจากผู้บริโภคและผู้ประกอบการในตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพ สหกรณ์ฯ โพนยางคำ ต้องดูแลควบคุมมาตรฐานการผลิต ตั้งแต่การเลี้ยงโคของสมาชิก การจัดหาพันธุ์ การผลิตอาหารข้น การชำแหละ และตัดแต่งตามหลักสากล การบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ จนได้เนื้อโคที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย สำหรับผู้บริโภค จากการเติบโตอย่างช้าๆ แต่ก้าวย่างอย่างมั่นคง โดยมุ่งเน้นความสม่ำเสมอในคุณภาพสินค้า สร้างความ มั่นใจให้แก่ลูกค้าทุกระดับนับได้ว่า สหกรณ์ฯ โพนยางคำ เป็นผู้
ผลิตและจำหน่ายเนื้อโคคุณภาพในระดับแนวหน้าของประเทศ เป็นต้นแบบของการรวมกลุ่มผู้ผลิตที่มีการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่การผลิตสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชนอย่างแท้จริง

ติดต่อสอบถาม