Skip to content

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

อำเภอวานรนิวาส

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอวานรนิวาสตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศเหนือของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัดสกลนคร 82 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 780 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านม่วงและอำเภอคำตากล้า
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออากาศอำนวย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพรรณานิคมและอำเภอพังโคน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดินและอำเภอเจริญศิลป์

การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอวานรนิวาสแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 185 หมู่บ้าน ได้แก่

1. วานรนิวาส (Wanon Niwat) 17 หมู่บ้าน 8. ศรีวิชัย (Si Wichai)         16 หมู่บ้าน
2. เดื่อศรีคันไชย (Duea Si Khan Chai) 17 หมู่บ้าน 9. นาซอ (Na So) 11 หมู่บ้าน
3. ขัวก่าย (Khua Kai) 13 หมู่บ้าน 10. อินทร์แปลง (In Plaeng) 9 หมู่บ้าน
4. หนองสนม (Nong Sanom) 23 หมู่บ้าน 11. นาคำ (Na Kham) 9 หมู่บ้าน
5. คูสะคาม (Khu Sakham) 9 หมู่บ้าน 12. คอนสวรรค์ (Khon Sawan) 9 หมู่บ้าน
6. ธาตุ (That) 22 หมู่บ้าน 13. กุดเรือคำ (Kut Ruea Kham) 9 หมู่บ้าน
7. หนองแวง (Nong Waeng) 6 หมู่บ้าน 14. หนองแวงใต้ (Nong Waeng Tai) 16 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอวานรนิวาสประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลวานรนิวาส ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวานรนิวาส
เทศบาลตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
เทศบาลตำบลนาซอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาซอทั้งตำบล
เทศบาลตำบลหนองสนม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสนมทั้งตำบล
เทศบาลตำบลคูสะคาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูสะคามทั้งตำบล
เทศบาลตำบลกุดเรือคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดเรือคำทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวานรนิวาส (นอกเขตเทศบาลตำบลวานรนิวาส)
องค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเดื่อศรีคันไชยทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลขัวก่าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขัวก่ายทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีวิชัยทั้งตำบล
ฅองค์การบริหารส่วนตำบลอินทร์แปลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอินทร์แปลงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคำทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอนสวรรค์ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงใต้ทั้งตำบล

วัดเสบุญเรือง
วัดเสบุญเรือง หรือชาวบ้านเรียกว่าวัดกลางตั้งขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดแต่ตามหลักการสันนิษฐานนั้นเข้าใจว่างตั้งขึ้นพร้อมการตั้งบ้านเมือง เพราะในสมัยก่อนนั้นคนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำในการอพยพหรือย้ายถิ่นฐานจะต้องไปพร้อมข้าทาสบริวารและพระภิกษุสงฆ์ ดังนั้นเมื่อมีการตั้งเมืองก็ต้องมีการตั้งวัด จึงสันนิฐานว่าวัดเสบุญเรืองตั้งขึ้นพร้อมกับเมืองวานรนิวาส ในปี พ.ศ.๒๔o๔ วัดเสบุญเรือง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘ ถนนบำรุงเมือง หมู่ที่ ๕ บ้านวานรนิวาส ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ตั้งวัดประมาณ ๖ ไร่ ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗ และมีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ได้รับการคัดเลือก จากคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาวัด กรมการศาสนา กระทรวงการศึกษาธิการ ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำอำเภอ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๑และคณะสงฆ์พร้อมด้วยพุทธบริษัทได้ร่วมกันพัฒนาและทำนุบำรุงวัดนี้ ให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาปสาทะของประชาชนมาโดยตลอดจนได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการพัฒนาวัดกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น ประจำปี พ.ศ.๒๕๔. จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

พระมหาธาตุเจดีย์ วัดกัลยาณธัมโม
บ้านหนองนาหารสมสนุก ต.นาซอ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

“พระธาตุเจดีย์ศรีคันไชย” วัดท่าเดื่อ
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2351 ซึ่งเป็นเป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านเดื่อศรีคันไชย ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยมี “พระธาตุเจดีย์ศรีคันไชย” โดนเด่นเป็นสง่า เป็นที่เคารพของชาวบ้าน ซึ่งเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านโดยต้องใช้เวลาในการก่อสร้างอยู่นานหลายปี ต้องออกไปขอรับบริจาคจากหมู่บ้านอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงในการก่อสร้าง องค์พระธาตุมีความสวยวิจิตรงามตาเป็นอย่างมาก ตั้งเป็นสง่าอยู่ข้าง ๆ กับโบสถ์ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปกราบพระภายในองค์พระธาตุได้ภายในจะมีพระแก้วมรกตสีเขียวสวยงามมาก ตัววัดเองก็อยู่ติดกับถนนหลวงหมายเลข 222 พังโคน – วานรนิวาส ทำให้ผู้คนที่สัญจรรถผ่านไปผ่านมามองเห็นได้แต่ไกล

วัดเสบุญเรือง
บ้านกุดจิก ตำบลนาคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งลำห้วยและผืนนา ชาวบ้านสืบเชื้อสายชาวภูไทมาตั้งแต่อดีต หมู่บ้านกุดจิกนี้ ยังคงอนุรักษ์วิถีประเพณีอันงดงามไว้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงฟ้อนรำแบบฉบับสาวภูไท อีกทั้งบ้านเรือนโบราณที่ยังคงกลิ่นอายวิถีชนบท สะท้อนให้เห็นภาพการดำรงชีวิตของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี ตามรอยข้าวฮางและผ้าคราม ด้วยวิถีเกษตรที่เข้มแข็ง ชาวบ้านบ้านกุดจิก ได้ลุกขึ้นมาก่อตั้งกลุ่มข้าวฮางทิพย์ ที่ต่อยอดมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนในชนบท ซึ่งทางกลุ่มได้มีการสาธิตขั้นตอนวิธีการผลิตข้าวฮาง ด้วยกรรมวิธีที่เรียกว่าการ “แช่ นึ่ง ผึ่ง สี” จนออกมาเป็นข้าวฮางที่มีคุณภาพ อุดมด้วยคุณประโยชน์ และยังได้แปรรูปเป็นข้าวฮางกรอบสมุนไพร ที่นำข้าวฮางไปทอดจนเหลืองกรอบและคลุกเคล้ากับธัญพืช เป็นของทานเล่นที่อร่อยและมีประโยชน์ นอกจากข้าวแล้ว ของขึ้นชื่อที่ขาดไม่ได้นั่นคือ ผ้าทอ นอกจากผ้าขาวม้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนแล้ว ทางกลุ่มทอผ้าบ้านกุดจิกได้มีการปลูกต้นฝ้ายและต้นคราม เพื่อนำมาทำผ้าทอย้อมคราม และได้มีการพัฒนาทำผลิตภัณฑ์ลายแบบใหม่ โดยวิธีการพิมพ์เทียนเป็นลวดลายดอกจิกและลายวานร ที่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน หอมกลิ่นอาหารถิ่นบ้านกุดจิก อาหารพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาของชาวบ้านกุดจิก คือ ตะโล้ะกะปู ที่ทำจากปูนาตามธรรมชาติ ปรุงรสจนกลมกล่อม ตำรางบ้านกุดจิก ส้มตำปลาร้าสูตรพิเศษที่ชาวบ้านแนะนำให้ลิ้มลอง และด้วยความอุดมของกล้วยที่ปลูกในหมู่บ้าน จึงนำมาสู่เมนูของว่างอันอร่อย นั้นคือ กล้วยปิ้งมะพร้าวอ่อน ที่ทำง่ายแต่อร่อยอย่างแน่นอน